เมนู

ไม่อบรม ความไม่ทำให้มาก ซึ่งการอบรมกุศลธรรมทั้งหลาย.
ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทเห็นปานนี้ใด
นี้เรียกว่าความประมาท.
บทว่า อุปฺปนฺนา จ กุสลา ธมฺมา ปริหายนฺติ (กุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย) นี้ ท่านกล่าวเนื่องด้วยฌานและ
วิปัสสนา. แต่มรรคผลที่เกิดขึ้นแล้วครั้งเดียว ไม่เสื่อมอีกต่อไป.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความไม่ประมาท พึงทราบโดยพิสดาร โดยตรงกันข้ามกับ
ความประมาท.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า โกสัชชะ. คำที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 10

จบ อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรคที่ 6

วิริยารัมภาทิวรรคที่ 7



ว่าด้วยเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม



[62] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการปรารภความเพียร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.
[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีความมักมาก ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นคนมักมาก อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิด
ขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.
[64] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีความมักน้อย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มักน้อย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.
[65] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุ